ปลากัดป่า
แต่ละภาคในประเทศไทย
ปลากัดที่พบตามแหล่งน้ำธรรมชาติ ในประเทศไทยมีอยู่ ๓ ชนิด แต่มีเพียงชนิดเดียว ที่นิยมเลี้ยงกันมากในประเทศไทย และแพร่หลายไปทั่วโลก คือ ปลากัดที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Betta splendens ซึ่งพบทั่วไปในทุกภาคของประเทศ ปลากัดอีก ๒ ชนิดที่นิยมนำมากัดกัน แต่ไม่นิยมนำมาเลี้ยงหรือปรับปรุงพันธุ์นั้น ชนิดหนึ่งเป็นปลาพื้นเมืองภาคใต้ (Betta imbellis) และอีกชนิดหนึ่งเป็นปลากัดพื้นเมืองภาคอีสาน (Betta smaragdina) ในระยะหลัง ได้มีการนำปลาป่าพื้นเมืองภาคใต้มาผสมข้ามสายพันธุ์บ้าง เพื่อให้ได้ลูกผสมที่กัดเก่ง หรือให้ได้สีและลักษณะที่สวยงาม อย่างไรก็ตาม เมื่อพูดถึงปลากัด โดยทั่วไปจะหมายถึง Betta splendens ซึ่งนิยมเลี้ยงกันอยู่ทั่วโลก โดยที่ปลากัดชนิดนี้ มีลักษณะทางพันธุกรรม ที่สามารถสร้างลักษณะสีและครีบได้มากมายแฝงอยู่ จึงทำให้มีการพัฒนาปลากัด สายพันธุ์ที่มีลักษณะใหม่ขึ้นมาเรื่อยๆ และมีการตั้งชื่อปลาที่พัฒนาได้ใหม่นั้นด้วย
ปลาป่า หรือปลาลูกทุ่ง
เป็นปลากัดที่พบในแหล่งน้ำธรรมชาติ ตามท้องนา และหนองบึง เป็นปลาขนาดเล็กที่ไม่มีลักษณะเด่นมากนัก ส่วนมากครีบ และหาง มีสีแดงเกือบตลอด มีประสีดำบ้างเล็กน้อย บางทีอาจมีแต้มสีเขียวอ่อนๆ เรียงต่อกันเป็นเส้นสีเขียวๆ ที่ครีบหลัง เวลาถอดสี ทั้งตัวและครีบ จะเป็นสีน้ำตาลด้านๆ คล้ายใบหญ้าแห้ง ในปัจจุบันคำว่า "ปลาป่า" หมายความรวมถึงปลากัดพื้นเมืองภาคอีสาน และปลากัดพื้นเมืองภาคใต้ด้วย
ปลากัดป่าภาคกลาง (แก้มแดง)
พบเห็นได้ในภาคเหนือ ภาคกลาง
และภาคใต้ตอนบน ตั้งแต่ จังหวัดชุมพร ระนอง สุราษ พบประปลายที่จังหวัดนครศรีธรรมราช และอาจจะพบเห็นในจังหวัดนราธิวาสอีกด้วย (เป็นต้นสายของปลากัดแฟนซี และ ปลากัดหม้อ)
ลักษณะเด่นของปลากัดป่าภาคกลาง
ใบหน้าแก้มจะมีสีแดง ลำตัวสีนํ้าตาลแดงหรือดำแดง หางสีแดง ส่วนกระโดงจะมีทั้งสีแดงและสีดำบางๆ ชายนํ้าสีแดงลายขีดสลับนํ้าเงินออกฟ้า
ลักษณะเด่นของปลากัดป่าภาคกลาง
ใบหน้าแก้มจะมีสีแดง ลำตัวสีนํ้าตาลแดงหรือดำแดง หางสีแดง ส่วนกระโดงจะมีทั้งสีแดงและสีดำบางๆ ชายนํ้าสีแดงลายขีดสลับนํ้าเงินออกฟ้า
ปลากัดป่าภาคใต้ (แก้มเขียว)
พบเห็นได้ตั้งแต่จังหวัดชุมพรสุราษฎร์ธานี จนไปถึง3 จังหวัดภาคใต้ และ ประเทศมาเลเซีย เวียดนาม (มีขนาดเล็กที่สุดในทุกสายพันธุ์) ฉายาในวงการปลา ปากไว ใจน้อย
ลักษณะเด่นของปลากัดป่าภาคใต้
ใบหน้าแก้มสีเขียวหน้าบาร์ก กับแก้มสีเขียวหน้าเคลือบ หางเป็นวงแดงคล้ายรูปพระจันทร์เสี้ยว และมีขนาดเล็กที่สุดในทั้ง6สายพันธุ์
(หางโพธิ์หายากที่สุดในปลากัดป่าภาคใต้)
ปลากัดป่าภาคอีสาน (ปลากัดหน้างู)
พบเห็นได้ง่ายในทางภาคอีสานของประเทศไทย
ลักษณะเด่นของปลากัดป่าภาคอีสาน
มีเกล็ดที่ใบหน้าเป็นแผ่นๆล
ปลากัดป่าภาคอีสาน (ปลากัดหางลายกีต้า)
พบเห็นได้แค่ไม่กี่จังลักษณะเด่นของปลากัดป่าภาคอีสานหางกีต้า
เหมือนปลากัดอีสานหน้างูทุกอย่าง แต่แตกต่างกันที่หาง
ลักษณะที่หางเหมือนลายขีดสีดำ
ปลากัดป่ามหาชัย
พบเห็นได้ที่จังหวัดสมุทรปราการ สมุทรสาคร สมุทรสงคราม และ ปริมณฑล แถบสมุทรปราการรอยต่อหัวกระลักษณะเด่นของปลากัดป่ามหาชัย
ใบหน้าแก้มแท่นสองขีดสีเขียว เกล็ดแวววาว เรียงตัวเขียวแก่หรือ เขียวอ่อน คล้ายกับเม็ดข้าวโพ และหางโพธิ์สวยงาม
ปลากัดป่าภาคตะวันออก
พบเห็นได้ทางภาคตะวันออกของประเทศไทยและเชื่อมต่อไปยังประเทศเพื่อนบ้าน ในตะวันออกจะมีทั้งแก้มดำและแก้มแดง
ลักษณะเด่นของปลากัดป่าภาคตะวันออก
ลักษณะคล้ายปลาใต้ แต่ต่างกันที่ใบหน้า และลำตัวดำเข้มเกล็ดเขียวเด่น ส่วนอื่นๆเหมือนกับปลากัดภาคใต้และภาคกลาง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น